“หนูเกือบโดนฆ่า” เตือนภัย “นัดยิ้มออนไลน์” เสี่ยงฟาล์วก่อนฟิน!?

“หนูเกือบโดนฆ่า” เตือนภัย “นัดยิ้มออนไลน์” เสี่ยงฟาล์วก่อนฟิน!?

0

“หนูเกือบโดนฆ่า” เตือนภัย “นัดยิ้มออนไลน์” เสี่ยงฟาล์วก่อนฟิน!?

        จากที่เป็นกระแสก่อนหน้านี้กับประเด็นเตือนภัยสำหรับคนนัดหาความสนุกผ่านโลกออนไลน์ที่มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ได้ออกมาเล่าเหตุการณ์ระทึกขวัญหลังนัดเจอกันกับชายผู้หนึ่ง “หนูเกือบโดนฆ่า เพราะพี่ซดมาม่าตอน 6 โมง” มาทราบภายหลังว่าเป็นคนในวงการบันเทิงผ่านแอปพลิเคชั่นของชาวสีม่วง จนถูกทำร้ายร่างกาย แต่เคราะห์ดีที่ไม่ได้มีการเสียเลือดเสียเนื้อแต่อย่างใด ซึ่งหลังจากเรื่องดังกล่าวถูกแชร์ไปในโลกออนไลน์ ก็มีชาวเน็ตอีกหลายคนที่ออกมาแสดงความเห็นว่า เคยเจอเรื่องราวแบบนี้ กับพิธีกรคนนี้เช่นกัน

ดารา เตือนภัย แอปพลิเคชั่น

        จากกรณีข้างต้น ทำให้เห็นได้ชัดว่าการนัดเจอผ่านแอปพลิเคชั่น เป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในไทย และต่างประเทศ ซึ่งเราได้สอบถามไปยัง “คุณเอ (นามสมมุติ)” ผู้ใช้จริงเกี่ยวกับเรื่องของการใช้แอปพลิเคชั่นออนไลน์ในการนัดเจอ ซึ่งได้ข้อมูลว่า

 

        “โดยปกติจะใช้แอปฯ ในการปัดหาเพื่อนยามว่าง อยู่ที่ตัวบุคคลว่าชอบนัดเจอมาก – น้อย ขนาดไหน แต่ถ้าเป็นช่วงที่ว่างก็จะนัดเจอกันไปเรื่อยๆ ส่วนแอปฯ ที่ใช้ก็มีหลายแอปฯ ไม่ได้เฉพาะเจาะจงว่าต้องอันไหน เพราะแต่จะแอปฯ ก็จะมีความแตกต่างและความนิยมต่างกันไป

 

        เมื่อทำการพูดคุยกันถูกคอในระดับนึงแล้วก็จะนัดเจอกัน ส่วนทำอะไรก็คงตรงพูดตรงๆ เลยว่าทุกคนที่เล่นแอปฯ พวกนี้รู้อยู่แล้วว่ามีจุดหมายเดียวกันคือ “เรื่องบนเตียง” สำหรับตัวเราเองจะเซฟและใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้ง เพราะเรารักสนุกก็ไม่อยากมานั่งทุกข์สนัด ส่วนมากจะเน้น One Night Stand แต่ถ้าคนไหนถูกใจ คุยกันถูกคอก็สานสัมพันธ์ต่อ อย่างคนปัจจุบันที่คบอยู่ก็มาจากแอปฯ นี่แหละ

 

        ในเรื่องของการทำร้ายร่างกาย เราเองก็เคยโดนนะ แต่จะเป็นเรื่องของความรุนแรงขณะมีเพศสัมพันธ์มากกว่า เหมือนมันเป็นรสนิยมของอีกฝ่ายที่ชอบลงมือ ตบ ตี ในขณะที่กำลังมีอะไรกัน แต่ถ้าเราไม่ชอบ เราก็ลุก เลิก แล้วกลับบ้านเลย แต่ไม่เคยโดนหนักเท่าที่เป็นอย่างในข่าว เราคิดว่าเรื่องพวกนี้มันเป็นรสนิยมส่วนตัว ถ้ามันไปด้วยกันได้ในทุกเรื่องมันก็สานต่อได้ แต่ถ้าไม่คลิกก็ตัดจบแค่คืนนั้นเลย”

 

        หากเกิดเหตุการณ์ถูกทำร้ายร่างกาย ทางที่ดีที่สุดควรเริ่มต้นจากการมีสติและพูดคุยกับคู่กรณีดีๆ เพื่อลดความอารมณ์ร้อนจากอีกฝ่ายลง ฝ่ายที่ถูกทำร้ายสามารถป้องกันตนเองให้พ้นจากอันตรายได้ หากได้กระทำพอสมควรแก่เหตุแล้วนั้น ไม่มีความผิด เพราะถือว่าเป็นการป้องกันโดยชอบด้วยกฎหมาย

 

        ข้อมูลจาก : ศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย ชี้ชัดว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ เกิดภาวะอาจเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หากคาดว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี สามารถขอรับ "เพร็พ" (PrEP) Post-Exposure Prophylaxis ยาต้านไวรัสแก่ผู้ที่ยังไม่ติดเชื้อเอชไอวี ได้ที่สภากาชาด และเข้าร่วมโครงการ “Princess PrEP” และในกรณีฉุกเฉินที่ต้องรับประทานให้เร็วที่สุดหลังสัมผัสความเสี่ยง โดยจะต้องเริ่มรับประทานภายใน 72 ชั่วโมงหลังมีความเสี่ยง และรับประทานติดต่อกันนาน 28 วัน ซึ่ง เพร็พ (PrEP) สามารถป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้เกือบ100% หากผู้มารับบริการรับประทานทุกวัน และมีวินัยในการรับประทาน  แต่ทางที่ดีควรควบคู่ไปกับการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments