คืนนี้ให้แหงนมองฟ้า! ห้ามพลาด “ดาวอังคาร” ใกล้โลกที่สุด

คืนนี้ให้แหงนมองฟ้า! ห้ามพลาด “ดาวอังคาร” ใกล้โลกที่สุด

3.5

คืนนี้ให้แหงนมองฟ้า! ห้ามพลาด “ดาวอังคาร” ใกล้โลกที่สุด 
        ต้อนรับต้นเดือนตุลาคมกันด้วยปรากฏการณ์บนท้องฟ้า เมื่อล่าสุด “เพจ FB Narit สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ” ได้ให้ข้อมูลว่า คืนนี้ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2563 จะเกิดปรากฏการณ์ “ดาวอังคาร” ใกล้โลกที่สุดในรอบปี ด้วยระยะห่าง 62 ล้านกิโลเมตร ซึ่งดาวอังคารจะโคจรรอบดวงอาทิตย์ด้วยคาบ 687 วัน ในขณะที่โลกโคจรรอบด้วยคาบ 365.25 วัน ดังนั้นดาวอังคารและโลกจะโคจรมาอยู่ในตำแหน่งที่ใกล้กันทุก ๆ 2 ปี และดาวอังคารจะสว่างเด่นที่สุด เมื่อมองผ่านกล้องโทรทรรศน์ที่มีกำลังขยายสูงจะสามารถเห็นรายละเอียดบนพื้นผิวดาวอังคารได้ แต่ยังคงสามารถมองเห็นความสุกสว่างสีส้มแดงของ "ดาวอังคาร" ได้ด้วยตาเปล่าตลอดทั้งคืนทางทิศตะวันออก บริเวณกลุ่มดาวปลาคู่ (Pisces)

ดาวอังคาร

ดาวอังคาร

        นอกจากนี้ในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ดาวอังคารจะมาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์ (Mars Opposition) ทำให้สามารถเห็นดาวอังคารได้ตลอดทั้งคืน จนถึงรุ่งเช้าของวันถัดไป

ดาวอังคาร

        ทั้งนี้ "ดาวอังคาร" เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะลำดับที่ 4 มีขนาดเล็กกว่าโลกครึ่งหนึ่ง พื้นผิวปกคลุมไปด้วยฝุ่นสนิมเหล็ก จึงเห็นปรากฏเป็นสีส้มแดงเป็นที่มาของชื่อ Mars ในภาษาอังกฤษที่ตั้งตามชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของกรีกโรมัน พื้นผิวดาวมีสภาพคล้ายทะเลทราย แต่มีอุณหภูมิต่ำ เป็นดาวเคราะห์ที่คาดว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพบสิ่งมีชีวิตมากที่สุด วงโคจรของดาวอังคารค่อนข้างรีเมื่อเทียบกับดาวเคราะห์ดวงอื่น ๆ ทำให้ระยะห่างของดาวอังคารในช่วงใกล้โลกแต่ละครั้งไม่เท่ากัน ซึ่งดาวอังคารจะเข้าใกล้โลกในทุก ๆ 2 ปี 2 เดือน และจะเข้าใกล้โลกมากที่สุดทุก ๆ 15 - 17 ปี นั่นเอง

ดาวอังคาร

ดาวอังคาร

        หรืออยากใครสะดวกอยากส่องพื้นผิวและน้ำแข็งขั้วใต้สีขาวบนดาวเคราะห์แดงแบบเต็มๆตา ผ่านกล้องของ Narit พบกันที่ 4 จุดสังเกตการณ์หลัก
- เชียงใหม่  อุทยานดาราศาสตร์สิรินธร อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ โทร. 081-8854353
- นครราชสีมา หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ นครราชสีมา โทร. 086-4291489
- ฉะเชิงเทรา หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติฯ ฉะเชิงเทรา โทร. 038-589395

-สงขลา หอดูดาว เฉลิมพระเกียรติฯ สงขลา โทร. 095-1450411
        และเครือข่ายดาราศาสตร์ที่ได้รับมอบกล้องโทรทรรศน์ ในโครงการกระจายโอกาสการเรียนรู้ดาราศาสตร์อีก 460 แห่งทั่วประเทศ  ตรวจสอบรายละเอียดได้ทาง http://bit.ly/MemberList-NARIT-DobsonianTelescope2020  นะคะ

                ดาวอังคาร
ขอบคุณรูปภาพและข้อมูลจาก เพจ Facebook "NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ”

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Comments