พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

2.5

พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

            เป็นเวลากว่า 70 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

           กระทั่งในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า  

          “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”  

          ตลอดเวลาที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย ทั้งทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตร และชลประทาน ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านภาษา และวรรณกรรม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ด้านศาสนา ด้านการพัฒนาชนบท ด้านการกีฬา ด้านดนตรี มูลนิธิชัยพัฒนา นับเป็นโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกภาค ทรงประจักษ์ปัญหาของราษฎร ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาด้วยพระบุญญาธิการและพระปรีชาสามารถ ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร ทรงริเริ่มโครงการใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศชาติ พร้อมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งใน ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ทรงมีพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาเพื่อการพัฒนาการเกษตรแบบพึ่งตนเอง (Self Reliance) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 โดยทรงเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเอง และช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสำคัญ และมีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาหาร ก่อน เป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ แนวพระราชดำริที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงพยายามเน้นมิให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงชนิดเดียว เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายสูง เนื่องจากความแปรปรวนของราคา และความไม่แน่นอน ของธรรมชาติ ทางออกก็คือ นอกจากจะปลูกพืชหลายชนิดแล้ว เกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งดำเนินงานสนับสนุนงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปัจจุบัน (สำนักงาน กปร., 2542)

        ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวนั้นเพื่อใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพ ซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่จนกระทั่งในปัจจุบัน

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

เปิดเรตติ้ง “ขวัญฤทัย” ยังแรง “ไมกี้-ญดา” จุ๊บกลางน้ำตก ฟินกระชากใจกองทัพ “ปณิดา”

เรียกน้ำย่อย! วิกหมอชิตเสิร์ฟเอาใจแฟนลูกยางต้อนรับศึก “VNL 2024”

“ใบเตย” เข้าแจ้งความเอาผิดเพจปลอม หลังมีผู้เสียหายหลงเชื่อจำนวนมาก

“มะตูม-เตชินท์“ รำบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ครั้งแรก หลังชีวิตที่เคยตกต่ำกลับดีขึ้นราวปาฏิหาริย์

คุณแม่ยังสวย “ใบหม่อน กิตติยา” โชว์ครรภ์ 27 สัปดาห์

เกิดอะไรขึ้น “ฮาย อาภาพร” โพสต์เมื่อไหร่จะฉลาดและทันคน เงินล้านไม่ได้หาง่ายๆ

“เบลล่า” อัปเดตยอดผ้าป่า8,947,931.18 บาทและทองคำน้ำหนัก 4 บาท

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments