“วินทร์ เลียววาริณ” นักเขียนซีไรต์เล่าเรื่องที่มาและความหมายของฉายาเทวดาเพลง “ชลธี ธารทอง”

“วินทร์ เลียววาริณ” นักเขียนซีไรต์เล่าเรื่องที่มาและความหมายของฉายาเทวดาเพลง “ชลธี ธารทอง”

0

วินทร์ เลียววาริณนักเขียนซีไรต์เล่าเรื่องที่มาและความหมายของฉายาเทวดาเพลง ชลธี ธารทอง

       “วินทร์ เลียววาริณนักเขียนซีไรต์ 2 ครั้ง คือ เมื่อปี พ.ศ. 2540 และเมื่อปี พ.ศ. 2542 โพสต์เล่าเรื่อง ฉายาเทวดาเพลง ชลธี ธารทอง อย่างลึกซึ้งโดยตีแผ่เพลงอมตะหลายเพลงถึงที่มาและบทกลอนในเพลงอาทิเพลง ไอ้หนุ่มตังเกพอหรือยัง” “ทหารอากาศขาดรักทั้งนี้น่าจะเป็นครั้งแรกที่มีการเปิดเผยที่มาของเพลงต่างๆซึ่งเป็นข้อมูลที่น่าสนใจมาก

อ่านข่าวต่อ:พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ “ชลธี ธารทอง” ศิลปินแห่งชาติ 24 ก.ค.2566

ชลธี ธารทอง

ชลธี ธารทอง

       เขาโพสต์ว่า นักแต่งเพลงหนุ่มคนหนึ่งหลงรักผู้หญิงในวงรวมดาวกระจาย และอกหัก ก็แต่งเพลงระบายความรู้สึกออกมา เนื้อเพลงว่า พอทีนะคุณ การุณย์ผู้ชายเถิดหนา อย่าคิดเอาความโสภา พร่าหัวใจผู้ชาย คุณสวย คุณเด่น ใครเห็นเป็นต้องงมงาย อดรักคุณนั้นไม่ได้ ยอมตายแทบเบื้องบาทคุณ"

       นักร้องชายคนหนึ่งในวงชอบเพลงนี้ ก็ขอนำไปร้องบนเวที ต่อมานักร้องคนนั้นย้ายไปอยู่วงศรคีรี ศรีประจวบ ศรคีรีได้ยินเพลงก็ถามชื่อคนแต่ง นักร้องคนนั้นก็ตอบว่าแต่งเอง ศรคีรีจึงขอมาอัดแผ่นเสียง

       เพลงนี้ดังทันที เมื่อนักแต่งเพลงหนุ่มรู้เข้าก็ทักท้วง แต่ไม่มีใครอยากเชื่อว่าเขามีความสามารถแต่งเพลงระดับนี้ได้ ใคร ๆ ก็เชื่อว่าเป็นงานของครูไพบูลย์ บุตรขัน

      เพลงนี้ทำให้นักแต่งเพลงหนุ่มค้นพบตัวเองว่าเป็นนักแต่งเพลง ไม่ใช่นักร้อง

      นักแต่งเพลงหนุ่มคนนั้นชื่อ ชลธี ธารทอง และเพลงนั้นชื่อ พอหรือยัง

หลังจากนั้นมาอีกหลายสิบปี ชลธี ธารทอง แต่งเพลงนับไม่ถ้วน จนได้รับฉายา เทวดาเพลง เขาแต่งเพลงสร้างนักร้องใหม่ๆ นับไม่ถ้วน

ชลธี ธารทอง

ชลธี ธารทอง

       ครั้งหนึ่งเขาแวะปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่ง ได้ยินเสียงเด็กปั๊มร้องเพลง ชอบใจ ก็ปั้นเด็กปั๊มคนนั้นขึ้นมา โดยแต่งเพลง ลูกสาวผู้การ และ แหม่มปลาร้า ให้ร้อง เด็กปั๊มคนนั้นกลายเป็นนักร้องดัง

สายัณห์ สัญญา

       แต่งเพลงให้ เสกศักดิ์ ภู่กันทอง​ จนโด่งดัง คือเพลง ทหารอากาศขาดรัก ลูกทัพอากาศสามารถวิชา เก่งกล้าทุกคน แต่แปลกพิกล จีบสาวไม่เป็น

       เขาปั้นนักร้อง สุริยัน ส่องแสง จากเพลง วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน (เมื่อวานก็ดูสวยดี แต่วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน เมื่อวานก็ดูสวยดี แต่วันนี้สวยกว่าเมื่อวาน")

       นอกจาก สายัณห์ สัญญา และ เสกศักดิ์ ภู่กันทอง​ แล้ว ก็มี ยอดรัก สลักใจ” “ศรเพชร ศรสุพรรณ” “สดใส รุ่งโพธิ์ทอง” “เสรีย์ รุ่งสว่าง” “ก๊อต จักรพันธ์” “มนต์สิทธิ์ คำสร้อย” “ดำรง วงศ์ทอง” “สุนารี ราชสีมา” “อ้อยทิพย์ ปัญญาธร ฯลฯ

       ครูเพลงลูกทุ่งระดับปรมาจารย์มีหลายคน เช่น ไพบูลย์ บุตรขัน” “ลพ บุรีรัตน์ ฉลอง ภู่สว่าง สำเนียง ม่วงทอง ฯลฯ แต่ชีวิตของ ชลธี ธารทอง (ชื่อจริงว่า สมนึก ทองมา) แตกต่างออกไป ผ่านร้อนผ่านหนาวมาอย่างโชกโชน แม่ตายตอนเขาอายุหกเดือน ระหกระเหินไปทั่ว ทำงานทุกอย่าง ทำไร่ทำนา ขุดดิน เผาถ่าน ช่างไม้ กรรมกรก่อสร้าง นักพากย์หนัง ไปจนถึงนักมวย

       ชีวิตลำบาก แต่ก็ทำให้มีวัตถุดิบมากมายที่ใช้ในการแต่งเพลง

       เพลงของ ชลธี ธารทอง มีเสน่ห์ต่างจากเพลงของคนอื่น ไพเราะ จดจำง่าย มีศิลปะการประพันธ์เช่นกวี

       “ชลธี ธารทอง เป็นนักแต่งเพลงที่สายตาเหมือนเรดาร์ จับทุกอย่างที่เห็นมาแต่งเป็นเพลงได้ ครั้งหนึ่งเมื่อเดินผ่านป้อมตำรวจ เห็นตำรวจนายหนึ่งกำลังมองสาวธรรมศาสตร์ที่เดินผ่าน ก็ได้ไอเดียแต่งเพลง ลูกสาวผู้การ

ชลธี ธารทอง

ชลธี ธารทอง

       “เกิดมาจน ทุกข์เหลือทนหนอพลตำรวจ เรื่องศักดิ์ศรีไม่มีโอ้อวด พลตำรวจผู้น้อยด้อยขั้น กลุ้มใจนัก ผมหลงรักลูกสาวนายพัน เธอเดินผ่านป้อมยามทุกวัน เก็บไปฝันถึงจนงมงาย...

       ครั้งหนึ่งขับรถพาลูกไปเยี่ยมแม่ยาย เมื่อไปถึงบางปะอิน ผ่านควายฝูงหนึ่ง แลเห็นเด็กคนหนึ่งข้ามถนนตัดหน้ารถ เดินไปฟังเพลงไป ก็ได้ไอเดียเพลง อีสาวทรานซิสเตอร์ เนื้อเพลงว่า

       “ฉันคนชาวนาหน้าตาเซ่อ ฟังทรานซิสเตอร์ก็พอใจ ไปไหนก็เอาไปด้วย ขึ้นเขาลงห้วยก็เอาไป ฟังเพลงตะลุงบ้านนา ฟังเพลงตะลุงบ้านนา เขาว่าเราบ้า ก็ช่างเขาปะไร

       อีกครั้งหนึ่ง ชลธี ธารทอง นั่งดื่มเบียร์ที่บางปู แล้วไปต่อที่บางแสนตอนเย็น แลเห็นชาวประมงพาเรือตังเกเข้าฝั่ง เพลงก็ไหลออกมาทันที

ชลธี ธารทอง

       “ไอ้หนุ่มตังเกร่อนเร่หาปลา ล่องลอยนาวาเห็นน้ำกับฟ้าเป็นเพื่อน ลากอวนจับปลากลางทะเล นอนบนตังเกแรมเดือน ผิวคล้ำดำเปื้อนคาวปลา

ก็คือเพลง ไอ้หนุ่มตังเก ที่โด่งดัง

ผ่านมาหลายสิบปีในวงการลูกทุ่ง ฝากงานประพันธ์ไว้หลายพันเพลง ก็ถึงเวลาที่นักประพันธ์เพลงผู้ยิ่งใหญ่คนหนึ่งของเมืองไทยจากเราไป กลับสู่สวรรค์ ดินแดนแห่งคนธรรพ์

เทวดาเพลง

วินทร์ เลียววาริณ

21 กรกฎาคม 2566

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments