พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

2.5

พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

            เป็นเวลากว่า 70 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

           กระทั่งในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า  

          “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”  

          ตลอดเวลาที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย ทั้งทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตร และชลประทาน ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านภาษา และวรรณกรรม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ด้านศาสนา ด้านการพัฒนาชนบท ด้านการกีฬา ด้านดนตรี มูลนิธิชัยพัฒนา นับเป็นโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกภาค ทรงประจักษ์ปัญหาของราษฎร ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาด้วยพระบุญญาธิการและพระปรีชาสามารถ ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร ทรงริเริ่มโครงการใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศชาติ พร้อมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งใน ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ทรงมีพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาเพื่อการพัฒนาการเกษตรแบบพึ่งตนเอง (Self Reliance) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 โดยทรงเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเอง และช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสำคัญ และมีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาหาร ก่อน เป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ แนวพระราชดำริที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงพยายามเน้นมิให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงชนิดเดียว เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายสูง เนื่องจากความแปรปรวนของราคา และความไม่แน่นอน ของธรรมชาติ ทางออกก็คือ นอกจากจะปลูกพืชหลายชนิดแล้ว เกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งดำเนินงานสนับสนุนงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปัจจุบัน (สำนักงาน กปร., 2542)

        ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวนั้นเพื่อใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพ ซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่จนกระทั่งในปัจจุบัน

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

“ว่าน” เปิดใจหลังถูกจับตาความสัมพันธ์ “ฟาง” เลิกไม่เลิก?!

“มอส” โพสต์อาลัย “ จาตุรนต์ เอมซ์บุตร” เพลงพี่แต่งไว้ผมยังร้องอยู่เลย

ส่งต่อความสุข “ป๊ายปาย โอริโอ้” เล่าประสบการณ์ ในเรือนจำครั้งแรก

เปิดหมดใจ “โอลิเวอร์ พูพาร์ต ” 30 ปีบนเส้นทางบันเทิงตอนนี้เป็นคุณพ่อลูกสองแล้ว

 “แอริน” โชว์ท้องอ่อน 4 เดือน ลั่นแรง! ท้องค่ะไม่ได้อ้วน

“เก๋ไก๋ สไลเดอร์” ฮอตเวอร์ “ขอจองพี่ไว้ก่อน” แรง ยอดวิวทะลุ 2 ล้าน

ร้อนเกินเหตุ! “ญาญ่า อุรัสยา” เกือบเป็นลมกลางกองครั้งแรกในชีวิต

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments