นายกฯ เปิดยิ่งใหญ่ ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนพลังงาน ครั้งที่ 37

นายกฯ เปิดยิ่งใหญ่ ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนพลังงาน ครั้งที่ 37

0

นายกฯ เปิดยิ่งใหญ่ ประชุมรัฐมนตรีอาเซียนพลังงาน ครั้งที่ 37

                   กรุงเทพฯ (4 กันยายน 2562)...ฯพณฯ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด “การประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงานครั้งที่ 37 และการประชุมอื่นที่เกี่ยวข้อง และงาน ASEAN Energy Business Forum” ภายใต้โดยแนวคิดหลัก “Advancing Energy Transition Through Partnership and Innovation” ร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อพัฒนานวัตกรรมพลังงานอาเซียนในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้เข้าสู่ยุคพลังงานที่มีความยั่งยืน ณ คริสตัลฮอลล์ โรงแรม ดิแอทธินี โฮเทล ถนนวิทยุ กรุงเทพฯ

ประชุม รัฐมนตรี อาเซียน พลังงาน  พลเอกประยุทธ์ นายก

                   พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า เป็นที่ทราบกันดีว่าภูมิภาคอาเซียนจะต้องเผชิญกับความท้าทายในภาคพลังงานเป็นอย่างมาก ซึ่งพลังงานเป็นปัจจัยที่สำคัญ ที่ส่งผลต่อการพัฒนาสังคม และการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง โดยแนวทางผลิตและ การใช้พลังงานของแต่ละประเทศจะถูกกำหนดด้วยความสามารถในการปรับตัวต่อความท้าทายด้านพลังงานของตามแต่สถานการณ์ของแต่ละภูมิภาค

                   “ในเวลานี้ เรากำลังอยู่ช่วงเริ่มต้นของกระแสของโลกในยุคแห่งการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และกำลังก้าวเข้าสู่ยุคพลังงานแห่งอนาคต ภูมิภาคอาเซียนของเรามีความต้องการพลังงานมากขึ้นทุกวัน เนื่องจากการเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมอย่างรวดเร็ว พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนอาจจะเป็นพลังงานหลักต่อไปในอนาคตอันใกล้ ดังนั้นการพัฒนาตลาดและการลงทุนด้านพลังงาน รวมทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีด้านพลังงานแห่งอนาคต ทั้งในส่วนของเชื้อเพลิงฟอสซิลและไม่ใช่ฟอสซิล จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งต่อการสร้างความมั่นคงด้านพลังงานให้กับภูมิภาค”

ประชุม รัฐมนตรี อาเซียน พลังงาน  พลเอกประยุทธ์ นายก

                   ทั้งนี้ ในฐานะเจ้าภาพอาเซียนไทยได้ผลักดัน Key Deliverables ของประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยผลการศึกษาที่เกิดขึ้น จะเป็นข้อมูลและแนวทางสำหรับการวางนโยบายและกรอบความร่วมมือของอาเซียนต่อไปในอนาคต อาทิ ในด้านไฟฟ้า มีการยืนยันการเพิ่มปริมาณการซื้อขายไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ผ่านราชอาณาจักรไทยไปยังสหพันธรัฐมาเลเซีย ซึ่งจะสามารถสนับสนุนและอำนวยความสะดวกต่อการขยายความร่วมมือสู่ประเทศสมาชิกอาเซียนอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการในอนาคต ซึ่งจะเป็นการเสริมสร้างศักยภาพการเชื่อมโยงพลังงานไฟฟ้าในอาเซียน

                   นอกจากนั้น ผลการศึกษาและข้อเสนอแนะต่างๆ อาทิ ข้อเสนอแนะเรื่องการศึกษาโครงสร้างพื้นฐานขนาดเล็กเพื่อรองรับก๊าซธรรมชาติ (Small-scale LNG) แนวทางการส่งเสริมพลังงานหมุน เวียนในโครงข่ายไฟฟ้าอาเซียน จะช่วยกำหนดทิศทางและกิจกรรมที่ควรจะดำเนินการในอนาคตเพื่อ ให้อาเซียนสามารถบรรลุเป้าหมายตามแผนปฏิบัติการด้านพลังงานอาเซียน (ASEAN Plan of Action on Energy Cooperation) ในด้านการส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่ายและตลาดการซื้อขายก๊าซธรรมชาติในอาเซียน ส่วนในด้านการพัฒนานวัตกรรมด้านพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดนั้น อาเซียนได้เห็นชอบร่วมกันในการผลักดันเป้าหมายด้านพลังงานทดแทนให้ถึงร้อยละ 23 ในปี 2025 และการปรับมาตรฐานด้านประสิทธิภาพพลังงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน และการผลิตและใช้พลังงานอย่างยั่งยืนในภูมิภาคอาเซียนต่อไป

ประชุม รัฐมนตรี อาเซียน พลังงาน  พลเอกประยุทธ์ นายก

                   ในส่วนของอนาคตทางพลังงานนั้น ปัจจัยที่จะส่งผลให้เกิดพลังงานแห่งโลกอนาคต นั่นคือ พลังงานสะอาดและพลังงานหมุนเวียน ซึ่งจะสามารถขับเคลื่อนโดยระบบพลังงานแบบกระจายศูนย์ การผลิตพลังงานในรูปแบบของพลังงานไฟฟ้าและการใช้เทคโนโลยีดิจิตอล เพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านพลังงานให้มีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ดังนั้นการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบพลังงานสมัยใหม่โดยมีพลังงานหมุนเวียนเป็นแหล่งพลังงานหลัก จึงไม่เพียงแต่เพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานเท่านั้น แต่ยังพัฒนาความเป็นอยู่และเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน และยังช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมด้วย

                   ดังนั้นแนวคิดหลักของการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านพลังงาน ครั้งที่ 37 หรือ 37th AMEM ในปีนี้ คือ “Advancing Energy Transition Through Partnership and Innovation” ซึ่งหมายถึง การมุ่งเน้นความร่วมมือ ร่วมใจ เพื่อพัฒนานวัตกรรมพลังงานอาเซียนในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานให้เข้าสู่ยุคพลังงานที่มีความยั่งยืน ซึ่งเป็นการมุ่งเน้นความร่วมมือของกลุ่มประเทศอาเซียนและประเทศคู่เจรจาในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านพลังงานเพื่อให้ภูมิภาคอาเซียนสามารถก้าวเข้าสู่ยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานจากพลังงานที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลไปสู่พลังงานสะอาดที่มีความยั่งยืนในอนาคตจึงเป็นหัวข้อที่เหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Comments