มองทีวียุคแห่งการแข่งขันแบบ"ประวิทย์"

มองทีวียุคแห่งการแข่งขันแบบ"ประวิทย์"

1

       ทําให้หลายคนเป็นห่วงว่า การเติบโตอย่างแรงของโทรทัศน์ดาวเทียมนี้ จะส่งผลกระทบต่อบรรดาฟรีทีวี ช่อง 3-5-7-9 ทั้งเรื่องที่โทรทัศน์ดาวเทียมจะมาแย่งคนดู รวมทั้งบุคลากรของคนทํางานด้านโทรทัศน์ ประเด็นที่คนเป็นห่วงนี้ บอสประวิทย์ มาลีนนท์ แห่งช่อง 3 จะมีมุมมองว่าอย่างไร

...โทรทัศน์ดาวเทียมที่เกิดขึ้นมากมาย จะส่งผลให้มีปัญหาการขาดแคลนบุคลากรไหม

"เราเป็นห่วงเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน เพราะว่าถ้ามองเรื่องวิทยุชุมชนเป็นตัวอย่าง ตอนแรกๆ ที่มีวิทยุชุมชนขึ้นมามันก็ดูเรียบร้อยดี จากที่คนที่เมื่อก่อนไม่มีโอกาสทํางานก็มีโอกาสทํางานมากขึ้น แต่ว่าพอสถานีวิทยุชุมชนมันมาก จนมากเกินไป ชนิดที่เรียกว่าใครพูดได้ก็เอามาพูดแล้ว ซึ่งมันอาจจะขาดคุณสมบัติบางอย่างมา ก็เลยกลายเป็นขยะไป ซึ่งโทรทัศน์ดาวเทียมก็อาจจะเป็นอย่างนั้น เพียงแต่ดาวเทียมมันจะยากกว่าตรงที่ต้นทุนอาจจะสูงกว่า มันจะไม่ขยายตัวเหมือนอย่างวิทยุ เราก็มีความกังวลในเรื่องนี้อยู่เหมือนกัน"

...ความพร้อมทางด้านบุคลากรด้านโทรทัศน์

"ผมมองว่า ถ้าบุคลากรของเราที่จะไปทําดาวเทียมก็หมายถึงว่าเป็นงานที่สอง เพราะถ้าเป็นงานแรกต้องเป็นคนที่เข้ามาใหม่ เพราะว่าฟรีทีวีกับทีวีดาวเทียมมันใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เพราะว่าความเป็นฟรีทีวีเนี่ยะคนดูทีวีมาก แต่ถ้าเป็นทีวีดาวเทียมคนเหลือนิดเดียว แล้วอีกอย่างคือเรื่องค่าตอบแทน ถ้าไปทางทีวีดาวเทียมก็อาจจะไม่คุ้ม แต่ว่าถ้าทําทั้งสองอย่าง เอาเวลาที่ยังมีเหลืออยู่ไปทําอีกงานหนึ่งอย่างนี้เป็นได้

ในอนาคตทีวีดาวเทียมจะมีเยอะ แต่ว่าแต่ละช่องจะต้องมีจุดเด่น ไปสร้างจุดเด่นของตัวเอง คือถ้าไม่มีจุดเด่นมันก็ไม่มีความหมายอะไร มันไปทดแทนช่อง 3-5-7-9 ไม่ได้ แล้วตราบใดที่ทดแทนไม่ได้ก็ไม่มีความหมาย คือถ้าจะทําทีวีดาวเทียมก็ต้องคิดใหม่ ต้องมีเอกลักษณ์ของตัวเอง คนถึงจะหันมาดู เพราะไม่อย่างนั้นเขาดู 3-5-7-9 ไม่ดีกว่าหรอ"

...รายการข่าวได้รับความนิยมมากขึ้น ทั้งในแง่ของคนดูและเม็ดเงินโฆษณา โอกาสจะมีมากกว่าละครหรือไม่"คือถ้าไปดูผังรายการทุกประเทศ จะเห็นว่ารายการข่าวจะได้เวลารองจากรายการบันเทิง อย่างรายการข่าวของเราจะอยู่ 16.30-18.00 น. แล้วข่าวมาอีกทีหนึ่งก็คือข่าว 3 มิติ 22.30 น. ซึ่งผังแบบนี้ก็ใกล้เคียงกับผังของฝรั่ง เพราะฉะนั้นเวลาของรายการข่าวจะเป็นรองรายการบันเทิง คือถ้านับจํานวนคนดูแล้ว มันจะเป็นจํานวนคนดูสะสม รายการบันเทิงมันจะเป็นคนดูเฉพาะตัวรายการนั้น มันทดแทนไม่ได้ มันต้องดูการกระจุกตัว อย่างเราดูละครเรื่องนี้ เราก็ต้องดูตรงนี้ เพราะไปดูที่อื่นทดแทนไม่ได้ คนดูมันก็จะกระจุกตัว เรทติ้งก็จะสูง"

....การแข่งขันของผู้จัดฯ ที่เยอะขึ้น เป็นเพราะเอาเรื่องเรทติ้งมาวัด "คือเขาต้องแข่งกับตัวเองด้วย ต้องแข่งกับคนอื่นด้วย คือถ้าไม่ได้อย่างที่ตั้งเป้าหมายไว้ก็ต้องให้คนอื่นมาลอง ซึ่งเป้าหมายนั้นก็แล้วแต่ว่าฝ่ายรายการเขาตกลงกันไว้อย่างไร เพราะว่าแต่ละประเภทรายการ แต่ละช่วงเวลาก็มีเงื่อนไขไม่เหมือนกัน คือถ้าช่วงเวลาไม่ดีแล้วเราจะไปตั้งเรทติ้งให้สูงๆ ก็เป็นไปไม่ได้

ตอนนี้เราทํางานเรามีโอกาสเลือกมากขึ้น เพราะว่าตอนนี้คนที่เข้ามาในวงการนี้มีมาก เพราะฉะนั้นความรอบคอบหรืออะไรมันมีอยู่ในตัวของมัน เราอาจจะเริ่มกับคนที่ไม่เคยทํางานมาก่อนเลย เราก็ยังไม่เคยได้เห็นงานของเขา แล้วแต่ละคนก็มีความเข้มแข็งไม่เท่ากัน แล้วตอนนี้ก็เป็นเหมือนกับว่าเขาสร้างรายการตัวอย่างมาให้เราดูได้เลย เพราะฉะนั้นความเสี่ยงของเราก็น้อยลง และที่บอกว่ามีความรอบคอบนี้ มันก็ไปในตัวของมันอยู่แล้ว"

...สภาวะที่เป็นปัจจัย ทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ สังคม

"ก็กังวลนะ แต่ถ้าเรากังวลมากไปมันก็ไม่มีประโยชน์ คือเราระวังไว้เท่านั้นเอง แต่ธุรกิจทีวีมันเป็นอย่างนี้ คือจะดีหรือไม่ดี เราเพิ่มไม่ได้ เราลดไม่ได้ ช่วงที่ดีเราจะเพิ่มให้เป็น 25 ชม.ก็ไม่ได้ ช่วงที่ไม่ดีเราจะลดให้เหลือ 3 ชม.ก็ไม่ได้ คือธุรกิจทีวีที่ผมพยายามย้ำอยู่เสมอก็คือ ดีเพิ่มไม่ได้ ถ้าแย่ก็ลดไม่ได้

สถานการณ์จะเป็นอย่างไรก็แล้วแต่ สภาพสังคมไม่ดี สภาพเศรษฐกิจไม่ดี เราก็ต้องทําแค่นี้ 24 ชม."

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments