พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

2.5

พระราชกรณียกิจพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

            เป็นเวลากว่า 70 ปีที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ขึ้นครองราชย์เป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2489

           กระทั่งในวันที่ 5 พฤษภาคม 2493 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณขัตติยราชประเพณี ณ พระที่นั่งไพศาลทักษิณ ในพระมหาราชวัง เฉลิมพระปรมาภิไธยตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า  

          “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศร รามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” และได้พระราชทานพระปฐมบรมราชโองการเป็นสัจวาจาว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขของมหาชนชาวสยาม”  

          ตลอดเวลาที่ผ่านมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงงานเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนชาวไทย ทั้งทางด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ การเกษตร และชลประทาน ด้านการแพทย์ ด้านการศึกษา ด้านภาษา และวรรณกรรม ด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านเทคโนโลยี ด้านศาสนา ด้านการพัฒนาชนบท ด้านการกีฬา ด้านดนตรี มูลนิธิชัยพัฒนา นับเป็นโครงการนานัปการมากกว่า 2,000 โครงการ

          พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมราษฎรในทุกภาค ทรงประจักษ์ปัญหาของราษฎร ทรงพระวิริยะอุตสาหะหาทางแก้ปัญหาด้วยพระบุญญาธิการและพระปรีชาสามารถ ทรงอุทิศพระองค์เพื่อประโยชน์สุขของราษฎร ทรงริเริ่มโครงการใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศชาติ พร้อมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปทรงกระชับสัมพันธไมตรีกับประเทศต่าง ๆ ทั้งใน ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย และเอเชีย

         พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานแนวทางดำรงชีพแบบ “เศรษฐกิจพอเพียง” และ “ทฤษฎีใหม่” ทรงมีพระราชดำริในการจัดการทรัพยากรระดับไร่นาเพื่อการพัฒนาการเกษตรแบบพึ่งตนเอง (Self Reliance) มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2517 โดยทรงเน้นให้เกษตรกรสามารถพึ่งตนเอง และช่วยเหลือตนเองเป็นหลักสำคัญ และมีพระราชประสงค์เป็นประการแรก คือ การทำให้เกษตรกร สามารถพึ่งตนเองได้ในด้านอาหาร ก่อน เป็นอันดับแรก เช่น ข้าว พืชผัก ผลไม้ ฯลฯ แนวพระราชดำริที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การที่ทรงพยายามเน้นมิให้เกษตรกรพึ่งพาอยู่กับพืชเกษตรแต่เพียงชนิดเดียว เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายสูง เนื่องจากความแปรปรวนของราคา และความไม่แน่นอน ของธรรมชาติ ทางออกก็คือ นอกจากจะปลูกพืชหลายชนิดแล้ว เกษตรกรควรจะต้องมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือไปจากภาคเกษตร เช่น การส่งเสริมอุตสาหกรรมในครัวเรือนของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพพิเศษ ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ ซึ่งดำเนินงานสนับสนุนงานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในปัจจุบัน (สำนักงาน กปร., 2542)

        ซึ่งทฤษฎีดังกล่าวนั้นเพื่อใช้ผืนแผ่นดินให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประกอบอาชีพอยู่กินตามอัตภาพ ซึ่งราษฎรได้ยึดถือปฏิบัติเป็นผลดีอยู่จนกระทั่งในปัจจุบัน

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

พระราชกรณียกิจ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

ส่องโมเมนต์น่ารัก “เจนี่” พาลูกสาว “น้องโนล่า” ไปทำกิจกรรม งานนนี้ทำคอมเมนต์สนั่น

“แบมแบม” ไม่ให้ค่าคนที่ไม่รักเรา พร้อมเผยแพลนคัมแบ็ค GOT7 ต้นปี / กลางปี 2025 เหมาะสมสุด!

“พรหมพยศ” ฟิตติ้งแล้ว “เจนนี่” เปลี่ยนลุคซ่าประกบคู่ “มิกค์”

เซอร์ไพรส์ทั้งด้อม “ป๊ายปาย” หอบดอกไม้ช่อโตร่วมแสดงความยินดี “นุ๊ก ธนดล” รับรางวัล

เตรียมฉลองยอดฟอลติ๊กต๊อก  “อิงฟ้า วราหะ” ทะลุ 7M

เปิดรายได้หนังไทย “หอแต๋วแตก แหกสัปะหยด” พุ่งแรงทะลุโรง! “พี่นาค 4” ลุ้นทะยานสู่ 200 ล้าน! 

หมอชิตรีรันต่อเนื่อง! “เข็มซ่อนปลาย” คืนจอปลุกกกระแสความน่ารัก “นุ่น-เก้า-ฐิสา-ยูโร”  

Gallery ที่เกี่ยวข้อง

Comments